วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ทำไมถึงต้องจัดฟัน


มักจะมีคนไข้สงสัยกันว่า ทำไมเด็กสมัยนี้ถึงต้องจัดฟัน จัดเป็นแฟชั่นตามเพื่อนๆ หรือเพราะมีความจำเป็น และควรเริ่มจัดฟันตั้งแต่อายุเท่าไร จัดฟันเร็วเกินไปจำเป็นต้องกลับมาจัดใหม่อีกเพราะอะไร คำถามต่างๆ เหล่านี้มักได้ยินอยู่เสมอ จึงอยากเขียนเล่าเป็นความรู้พื้นฐานเพื่อใช้พิจารณาก่อนปรึกษาทันตแพทย์
ถ้าจะแยกปัญหาการสบฟัน น่าจะแยกเป็นความผิดปกติของการเรียงตัวฟันโดยตรง และ/หรือความผิดปกติของความสัมพันธ์ของขากรรไกร ขออธิบายคร่าวๆ ดังนี้คือ

1. ความผิดปกติของการเรียงตัวฟัน สาเหตุอาจเกิดจาก
- ขนาดของฟัน ใหญ่หรือเล็กเกินไปเมื่อเทียบกับขนาดของขากรรไกร ทำให้เกิดฟันซ้อนเก หรือฟันห่าง ตามลำดับ
- การดูดนิ้ว, การดุนลิ้น ทำให้ฟันหน้ายื่น ห่าง
- การเลิกขวดนมช้ากว่าเวลาอันควร ทันตแพทย์ส่วนใหญ่มักแนะนำให้เปลี่ยนจากการดูดขวดมาเป็นแก้ว ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป
- ลักษณะนิสัย เช่น ชอบกัดริมฝีปากล่าง เป็นต้น ก็ทำให้ฟันหน้าบนยื่น/ห่าง
2. ความผิดปกติของความสัมพันธ์ของขากรรไกร สาเหตุอาจเกิดจาก
- กรรมพันธุ์ ตัวอย่างเช่น บุคคลในครอบครัวมีขากรรไกรล่างใหญ่ หรือฟันหน้าบน – ล่าง ยื่นอูม ซึ่ง
เป็นลักษณะทางกรรมพันธุ์เช่นกัน
- โรคบางชนิด หรืออุบัติเหตุ เป็นต้น

การเริ่มจัดฟันตั้งแต่อายุน้อยๆ จะสามารถแก้ปัญหา หรือทำให้ปัญหาบรรเทาลงได้ จึงไม่มีข้อกำหนดว่าควรเริ่มจัดฟันตั้งแต่อายุเท่าไหร่ แต่ควรเริ่มให้ทันตแพทย์ตรวจตั้งแต่ฟันแท้ขึ้นประมาณ 2-6 ซี่

การจัดฟันแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. การจัดฟันแบบถอดได้ เหมาะกับคนไข้อายุ 8-11 ปี ยังมีฟันน้ำนมเหลืออยู่บ้าง (mixed dentition) มักจะทำในกรณีที่พบว่าปัญหาการเรียงตัวของฟันไม่รุนแรง หรือจัดเพื่อเตรียมสภาพฟันก่อนจัดฟันแบบติดแน่นต่อไป เช่น ในกรณีคนไข้ดูดนิ้วมาตั้งแต่เล็กไม่สามารถเลิกได้ ผลทำให้ฟันบนยื่น - ห่าง การใส่เครื่องมือแก้ปัญหาดูดนิ้วตั้งแต่เล็ก จะสามารถทำให้เด็กเลิกได้ง่ายกว่ารอจนเด็กโต หรือฟันหน้าล่างคร่อมฟันหน้าบน 1-4 ซี่ การใส่เครื่องมือแบบถอดได้ประมาณ 8-12 เดือนทำให้ฟันสบได้สวยงามขึ้น
2. การจัดฟันแบบติดแน่น เหมาะกับคนไข้อายุ 10 ปีขึ้นไป ซึ่งเริ่มมีฟันแท้ขึ้นเกือบครบทั้งปาก (อาจจะยังเหลือฟันน้ำนม 1-4 ซี่ ก็สามารถเริ่มจัดได้) ผลขอการจัดฟันแบบติดแน่นจะทำให้ฟันมีการเรียงตัวสวยงาม มีรูปหน้าที่มีความสมดุลกับจมูกและคาง ส่วนใหญ่ใช้เวลาในการจัด 2-3 ปี ภายหลังการจัดฟัน การใส่ retainer ประคองฟันไว้มีความจำเป็นอย่างมาก เพราะถ้าไม่ใส่จะทำให้ฟันล้มได้ง่าย จึงควรใส่ retainer เพื่อป้องกันการกลับมาจัดฟันใหม่อีกครั้ง

โรคที่มากับคอมพิวเตอร์


ในปัจจุบันนี้คอมพิวเตอร์ดูเหมือนจะเป็นส่วนหนึ่งของผู้คนสมัยนี้ไปเสียแล้ว ถึงแม้จะมีประโยชน์แต่ก็มีโทษด้วยเช่นกัน การใช้คอมพิวเตอร์นานๆ ล้วนแต่ทำให้เกิดโรคต่างๆได้มากมาย อาทิเช่น อาการปวดตาหรือต้อหิน ที่สาเหตุเกิดจากการจ้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆโรคเส้นประสาทบริเวณข้อมือถูกกดทับ ที่เกิดจากการงอมือในขณะที่ใช้คีย์บอร์ด โรคเอนไซม์ไลเปส (Lipase) ซึ่งเป็นที่มาของโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือดหรือโรค Cumulative Trauma Disorders ซึ่งบางโรคอาจจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ดังเช่นนักวิจัยชาวอังกฤษได้ทำการศึกษาและพบว่า คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์นั้นล้วนเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียที่อันตรายกว่าโถสุขภัณฑ์ถึง 5 เท่า และทำให้ผู้ใช้ท้องเสียโดยไม่รู้ตัว และเป็นต้นเหตุของอาหารเป็นพิษอีกด้วย ซึ่งหากไม่แน่ใจว่าร่างกายได้รับแบคทีเรียไปแล้วมากน้อยเพียงใด โรงพยาบาล สมิติเวช มีโปรแกรมตรวจรักษาให้คุณได้มั่นใจและปลอดภัยจากโรคต่างๆที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ โดยแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญและชำนาญในการรักษาเฉพาะด้าน

วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

กำเนิดไอศกรีม




ไอศกรีม ของหวานที่ได้รับความนิยมมากเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ได้ถือกำเนิดขึ้นใน ประเทศจีนเมื่อ ๔,๐๐๐ ปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าในตอนแรกที่ผลิตนั้น ไอศกรีมจะดูเหมือนนมขุ่น ๆ แช่แข็งมากกว่าไม่ได้เป็นครีมนุ่ม ๆ เย็น ๆ อย่างทุกวันนี้

ในตอนนั้น ประเทศจีนเพิ่งจะเริ่มมีการรีดนมจากสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม นมจึงจัดเป็นอาหารที่มีราคาแพง พวกชนชั้นสูงจะนำนมไปหมกไว้ในหิมะเพื่อให้กลายเป็นนมแช่แข็ง หลังจากนั้นก็เริ่มพัฒนาทำน้ำผลไม้แช่แข็งรับประทานกัน พอถึงศตวรรษที่ ๑๓ ขนมแช่แข็งสารพัดชนิดก็มีวางขาย เข็นขายกันตามถนนและทุกซอกซอยทั่วกรุงปักกิ่ง

ในศตวรรษที่ ๑๔ นมแช่แข็งและน้ำผลไม้แช่แข็งก็เดินทางไปอิตาลีและต่อไปยังฝรั่งเศส ในงานเฉลิมฉลองพระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างแคเธอรีน เดอ เมดซี แห่งเวนิส กับว่าที่กษัตริย์เฮนรี่ที่ ๒ แห่งฝรั่งเศสเมื่อ ปี ค.ศ. ๑๕๓๓ ซึ่งนอกจากจะเสิร์ฟของหวานแช่แข็งหลากรสแล้ว ยังมีการเสิร์ฟของหวานกึ่งแช่แข็ง (ที่ทำจากครีมข้นหวาน) ซึ่งมีลักษณะคล้ายไอศกรีมในปัจจุบันหลังจากที่หมอชาวสเปนในกรุงโรมคนหนึ่ง ได้พบเทคนิคพิเศษที่ว่า อุณหภูมิของส่วนผสมในการทำไอศกรีมแช่แข็งจะลดลงถึงจุดเยือกแข็งได้อย่างรวด เร็วขึ้น หากเติมดินประสิวลงในหิมะหรือน้ำแข็งที่อยู่รอบถัง เมื่อนั้นชาวฟลอเรนซ์จึงเป็นผู้ริเริ่มผลิตของหวานแช่แข็งที่ทำจากครีมล้วน ๆ ชนิดแรกของโลก

ในปี ค.ศ. ๑๘๗๐ ภาพคนขายไอศกรีมอิตาเลี่ยนก็กลายเป็นภาพที่คุ้นตาบนถนนในกรุงลอนดอน เด็ก ๆ จะเรียกคนขายไอศกรีมว่า 'โฮกี้ โปกี้' ซึ่งเพี้ยนมาจากเสียง 'Ecoo un poco' หรือ "หนู ๆ มาที่นี่”

จุดที่ไอศกรีมเดินทางเข้าสู่ประเทศสหรัฐอเมริกาก็คือเมืองฟิลา เดลเฟีย และในต้นทศวรรษ ๑๘๐๐ เมืองนี้ได้กลายเป็นเมืองหลวงของไอศกรีม เพราะผลิตไอศกรีมเป็นจำนวนมหาศาล นอกจากนั้น ที่นี่ยังเป็นบ้านเกิดของไอศกรีมโซดาหรือไอศกรีมโฟลต

ไอศกรีมซันเด-ของโปรดของหลาย ๆ คน เกิดเมื่อกลางทศวรรษที่ ๑๘๘๐ ว่ากันว่า ชื่อของไอศกรีมชนิดนี้มาจากการสะกดคำว่า Sunday ให้แปลกออกไป (สะกดเป็น Sundae) และมีขายกันเฉพาะวันอาทิตย์ ส่วนแหล่งกำเนิดไอศกรีมซันเดนั้นไม่ปรากฏแน่ชัดแต่ละเมืองก็อ้างว่าตนมีเมนู ไอศกรีมของวันอาทิตย์เป็นหลักฐานยืนยันในขณะที่บางครอบครัวก็ว่า นี่เป็นอาหารจานพิเศษที่จะกินกันเฉพาะวันอาทิตย์เท่านั้น

ส่วนวิปป์ครีมที่ประดับสวยอยู่บนหน้าไอศกรีมนั้น เกิดมาจากความที่ขี้เกียจตีครีมของนายชาร์ลส์ โกทช์ นักเคมีชั้นยอดแห่งมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ผู้คลุกคลีในกิจการไอศกรีม จึงทำให้เขาค้นพบวิธีการทำให้ครีมอิ่มตัวด้วยการใช้ก๊าชไนทรัสออกไซด์หรือ ก๊าซหัวเราะ

การเสิร์ฟไอศกรีมมากับจานแบน ๆ หรือใช้โปะลงบนยอดวอฟเฟิลนั้นมีมาเป็นเวลาหลายศตวรรษแล้ว จนไอศกรีมโคนได้เกิดขึ้นในงานออกร้าน 'เซ็นต์หลุยส์ เวิร์ล'สแฟร์ ' ในรัฐมิสซูรี่ เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๐๔ เมื่อนายอาร์โนลด์ ฟอร์นาโช คนขายไอศกรีมเกิดขาดแคลนจานกระดาษสำหรับใส่ไอศกรีมขึ้นมา เลยไปคว้าเอาแผ่นวอฟเฟิลจากร้านขายวอฟเฟิลของนายเออร์เนสต์ แฮมไว ที่อยู่ข้าง ๆ มาม้วนเป็นกรวย แล้วใช้เป็นภาชนะสำหรับบรรจุไอศกรีมเสียเลย เป็นอันว่า ได้มีการม้วนแผ่นวอฟเฟิลทำเป็นโคนมาเรื่อย ๆ จนถึงปี ค.ศ. ๑๙๑๒ เมื่อเฟรเดอริก บรุคแมน นักประดิษฐ์จากรัฐโอเรกอน ได้จดลิขสิทธิ์เครื่องจักรสำหรับการนี้โดยเฉพาะขึ้น หลังจากนั้นหนึ่งในสามของไอศกรีมทั้งหมดที่บริโภคกันในสหรัฐอเมริกาจะบรรจุ ลงในโคน

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

coffee art

คนทำหล่อ ม่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พื้นฐานกาแฟ


สิ่งสำคัญในการชงกาแฟ
กาแฟจะมีรสดีหรือไม่ดีเพียงใดนอกจากการคัดเลือกเมล็ดกาแฟแล้วยังมีปัจจัยอื่นๆที่สำคัญอีกดังนี้

น้ำ ส่วนประกอบสำคัญที่สุดของกาแฟ ต้องเป็นน้ำที่บริสุทธ์ ผ่านการกรองมาแล้ว ไม่มีกลิ่นเจือปน แต่ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำกลั่น โดยใช้น้ำร้อน ประมาณ 92-96 องศาเซลเซียส

การบด กาแฟต้องบดที่เหมาะสม ไม่ละเอียดหรือหยาบเกินไป การบดยังขึ้นอยู่กับการอัดกาแฟด้วย โดยการบดและอัดที่ดี กาแฟจะต้องชงเสร็จ 1 ช็อท ประมาณ 20 วินาที หากใช้เวลานานกว่านั้นแสดงว่ากาแฟบดละเอียดเกินไป หากชงเสร็จเร็วกว่านั้นก็แสดงว่ากาแฟบดหยาบเกินไป และควรบดกาแฟให้พอดี โดยบดเฉพาะชงแก้วต่อแก้วเท่านั้น

การคั่ว ควรเลือกกาแฟที่คั่วเสร็จใหม่ๆ ถ้าไม่สามารถคั่วเองได้ ก็ควรจะใช้กาแฟที่คั่วแล้วหลังจากเปิดถุงให้หมดภายใน หนึ่งอาทิตย์ หากเปิดถึงแล้วนานกว่านั้นกลิ่นของกาแฟจะหายไป และควรจะเก็บกาแฟในที่มีฝาปิดมิดชิด หากเปิดถึงแล้วก็ไม่ควรเก็บในตู้เย็น หากถุงยังปิดอยู่ก็สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้

ปริมาณกาแฟ ให้ใช้ปริมาณ 10 กรัมต่อน้ำ 180 มิลลิลิตร
ส่วนกาแฟที่ตามร้านค้าจะนำมาชงขายในร้านนั้นโดยมากแล้วจะมีอยู่ 2 แบบ
สเตรทคอฟฟี่ [Straight Coffee]
เป็นกาแฟ อาราบิก้า ทั้งหมดไม่ผสมกับกาแฟอย่างอื่น จะให้รสชาติที่กลมกล่อม ให้ความรู้สึกที่ดี
คอฟฟี่เบลนด์ [Coffee Blend]
เป็นกาแฟอาราบิก้า ผสมกับ กาแฟโรบัสต้า ซึ่งจะทำให้มีกลิ่นที่หอมมากกว่า ซึ่งแต่ละร้านก็มีสูตรของตัวเองที่ต่างกันออกไป

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับกาแฟ


ส่วนประกอบที่สำคัญของกาแฟ
ส่วนประกอบที่สำคัญของกาแฟคือ caffeine หรือมีชื่อทางเคมีว่า 1,3,7 trimethylxanthine ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของยาขยายหลอดลม theophylline caffeine สามารถพบได้ในหลายชนิดได้แก่ เมล็ดคา เมล็ดกาแฟ ใบชา โคลา caffeine ถูกผสมลงในน้ำอัดลม ยาแก้หวัดบางชนิด ยาแก้ปวด ยาลดน้ำหนัก กาแฟจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วหลังจากที่เราดื่มกาแฟและจะถูกขับออกไปครึ่งหนึ่งในเวลาประมาณ 4 ชั่วโมงกาแฟจะไม่สะสมในร่างกาย โดยจะถูกทำลายและขับออกหมด ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีการขับถ่ายกาแฟมากกว่าผู้ที่ไม่สูบ ดังนั้นคนที่สูบบุหรี่หากต้องการ การกระตุ้นของกาแฟ จะต้องดื่มกาแฟบ่อยกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ คนท้องและผู้ที่กินยาคุมกำเนิดจะมีการขับกาแฟน้อยกว่าคนทั่วไป กาแฟจะออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นสมอง ทำให้รู้สึกสดชื่นและมีสมาธิ

ผลดีของกาแฟ
กาแฟจะกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้ไม่ง่วง สมาธิในการทำงานดีขึ้น ผู้ที่ดื่มกาแฟจะทำให้ไม่ง่วงนอน มีสมาธิในการทำงาน และยังทำให้ความสามารถในการทำงานดีขึ้น และยังลดอาการปวดเมื่อยเนื่องจากไข้หวัด ผลต่อสมรรถภาพของร่างกายดีขึ้น เช่นการขี่จักรยาน การว่ายน้ำ เล่นกีฬาได้นานขึ้น ผลดีของกาแฟจะทำให้ไม่ง่วงนอน โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเป็นกะ และช่วยลดอุบัติเหตุขณะขับรถ กระตุ้นอวัยวะของร่างกายและเพิ่มการเผาผลาญไขมันและช่วยลดน้ำหนักได้ด้วย กาแฟจะมีฤทธิ์ขับปัสสาวะอ่อนๆ ดังนั้นขณะออกกำลังกายหรือหลังออกกำลังกายไม่ควรรับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกาแฟ เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ

ดื่มนานๆ จะติดกาแฟหรือไม่
องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า ไม่มีหลักฐานว่ากาแฟจะเป็นสารซึ่งหากดื่มนานๆ แล้วจะเสพติด การดื่มกาแฟจะเป็นนิสัยมากกว่าเสพติด เนื่องจากไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณของกาแฟ และเมื่อหยุดกาแฟบางคนก็เกิดอาการปวดหรือมึนศีรษะเพียงเล็กน้อย

ผลดีของกาแฟต่อสุขภาพ
โรคหอบหืด มีรายงานว่าการดื่มกาแฟวันละ 3 แก้ว จะลดอาการหอบหืด หากดื่มมากกว่า 6 แก้ว การทดสอบสมรรถภาพปอดจะดีขึ้น กาแฟก็เหมือนกับพืชอื่นๆ มีสาร flavanoid ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ การดื่มกาแฟจะลดอาการง่วงนอน และทำให้มีสมาธิในการทำงานดีขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเป็นกะ และลดอุบัติเหตุขณะขับขี่ กาแฟช่วยลดอาการซึมเศร้าและคลายความวิตกกังวล การดื่มกาแฟเป็นประจำจะลดอุบัติการณ์การเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ และยังลดอุบัติการณ์ของนิ่วในถุงน้ำดี มีหลักฐานพอจะเชื่อว่าการดื่มกาแฟจะป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่เมื่อดื่มวันละ 4 แก้ว

เมล็ดกาแฟมาจากไหน





กาแฟอราบิก้า(Arabiga)เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งที่เกษตรกรในเชียงใหม่ และ จังหวัดในภาคเหนือฯนิยมปลูก กาแฟเป็นพืชเมืองหนาวที่เจริญได้ดีในเขตร้อน ในพื้นที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลที่ราว 1,000 เมตร ให้ผลผลิตเร็วผลผลิตเก็บได้นาน ดอกกาแฟเป็นสีขาวและหอมเหมือนดอกมะลิ เมื่อเริ่มติดผล ผลมีสีเขียวเปลี่ยนเป็นเหลือง แล้วส้ม แดง..จนสุกจัดเป็นสี่แดงคล้ำจึงเก็บผลได้ใช้เวลาติดลูก 8-9 เดือน ผลผลิตจากเมล็ดกาแฟอราบิก้าแม้จะมาจากพันธุ์เดียวกันต้นกล้าจากแหล่งเดียวกันเมื่อนำไปปลูก แต่ละพื้นที่รสชาติและกลิ่นหอมไม่เหมือนกัน

กาแฟพันธุ์โรบัสต้า (Robusta) ปลูกในพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่มากนัก ส่วนใหญ่ปลูกในประเทศแถบร้อนชื่น มีรสชาติเข้มข้น หอมฉุนกว่ากาแฟพันธุ์อราบิก้า มีสัดส่วนของผลผลิตกาแฟทั่วโลก 25%
กาแฟเป็นไม้พุ่มยืนต้น ขนาดปานกลางสูงประมาณ 3-4 เมตร ใบสีเขียวแตกออกจากข้อเป็นคู่ๆ ดอกออกตามข้อของกิ่ง มีสีขาวบริสุทธิ์ มีกลิ่นหอม ต้นกาแฟในประเทศไทยเริ่มออกในเดือนตุลาคม -เดือนกุมภาพันธ์ ระยะเวลาตั้งแต่การออกดอกถึงเก็บเกี่ยวใช้เวลาประมาณ 8-12 เดือน หลังจากที่ปลูกกาแฟได้ 2-3 ปี กาแฟจะเริ่มออกดอกและติดผล ผลกาแฟเรียกว่า "Coffee Cherry" มีลักษณะค่อนข้างกลม ขณะที่ผลยังอ่อนมีสีเขียว และเมื่อผลแก่จัดจะมีสีแดง ในแต่ละข้อของกิ่งกาแฟติดผลประมาณ 10-60 ผล แต่ละผลจะมีเมล็ดกาแฟอยู่ 2 เมล็ด โดยส่วนแบนของเมล็ดประกบติดกัน

การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว นับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้อง ได้รับความรู้และชาวไร่ต้องผ่านการฝึกอบรมปฏิบัติ มาจนสามารถจัดการต่อผลผลิต ที่ออกมาสู่ตลาดด้วยมาตรฐานได้คุณภาพตามความต้องการของตลาด กาแฟอราบิก้าในภาคเหนือไทย จะสุกจนเมล็ดแดงเข้มราวเดือนธันวา-มกราคม โดยชาวไร่ต้องเก็บด้วยมือจากไร่เลือกเฉพาะเมล็ดแดงจัดที่สุกเท่านั้น นำมาแปรรูปด้วยวิธีการหมัก-ตากแห้ง ที่ให้คุณภาพดีสำหรับกาแฟอราบิก้า ควรมีวิธีการแปรรูปดังต่อไปนี้

การทำสารกาแฟโดยวิธีเปียก (Wet Method or Wash Method) เป็นวิธีการที่นิยมกันแพร่หลาย เพราะจะได้สารกาแฟที่มีคุณภาพกาแฟอราบิก้า รสชาติดีกว่า ราคาสูงกว่าวิธีตากแห้ง (Dry method) โดยมีขั้นตอนในการดำเนิน การมีขั้นตอน ดังนี้

การปอกเปลือก (Pulping) โดยการนำผลกาแฟสุกที่เก็บได้มาทำการปอกเปลือกนอกทันทีโดยเครื่องปอกเปลือก โดยใช้น้ำสะอาดขณะที่เครื่องทำงาน ไม่ควรเก็บผลกาแฟไว้นานหลังการเก็บเกี่ยว เพราะผลกาแฟเหล่านี้จะเกิดการหมัก (fermentation) ขึ้นมาจะทำให้คุณภาพของสารกาแฟ มีรสชาติเสียไป ดังนั้นหลังปอกเปลือกแล้ว จึงต้องนำไปขจัดเมือก

การกำจัดเมือก (demucilaging) เมล็ดกาแฟที่ปอกเปลือกนอกออกแล้ว จะมีเมือก (mucilage) ห่อหุ้มเมล็ดอยู่ซึ่งจะต้องกำจัดออกไป ซึ่งมีวิธีการอยู่ 3 วิธีคือ การกำจัดเมือกโดยวิธีการหมักตามธรรมชาติ (Natural Fermentation) เป็นวิธีการที่ปฏิบัติดั้งเดิม โดยนำเมล็ดกาแฟที่ปอกเปลือกออกแล้วมาแช่ในบ่อซีเมนต์ ขนาด 3x1.5x1.2 เมตร มีรูระบายน้ำออกด้านล่าง ใส่เมล็ดกาแฟประมาณ 3/4 ของบ่อ แล้วใส่น้ำให้ท่วมสูงกว่ากาแฟ แล้วคลุมบ่อด้วยผ้าหรือพลาสติกปิดปากบ่อซีเมนต์ ทิ้งไว้ 24 - 48 ชั่วโมง ในกรณีที่อุณหภูมิต่ำอากาศหนาวเย็น การหมักอาจจะใช้เวลา 48 - 72 ชั่วโมง) จากนั้นปล่อยน้ำทิ้งแล้วนำเมล็ดมาล้างน้ำให้สะอาด นำเมล็ดมาขัดอีกครั้งในตระกล้าที่ตาถี่ ที่มีปากตะกร้ากว้างก้นไม่ลึกมาก เมื่อขัดแล้วเมล็ดกาแฟจะไม่ลื่นแล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งก่อนที่จะนำไปตาก

การตากหรือการทำแห้ง (Drying) หลังจากเมล็ดกาแฟผ่านการล้างทำความสะอาดแล้ว นำเมล็ดกาแฟมาเทลงบนลานตากที่ทำความสะอาดแล้ว หรือเทลงบนตาข่ายพลาสติกบนแคร่ไม้ไผ่ เกลี่ยเมล็ดกาแฟกระจายสม่ำเสมอไม่ควรหนาเกิน 4 นิ้ว ควรที่จะทำการเกลี่ยเมล็ดกาแฟวันละ 2 - 4 ครั้ง จะทำให้เมล็ดแห้งเร็วขึ้น และเวลากลางคืนควรกองเมล็ดเป็นกอง ๆ และใช้พลาสติกคลุมเพื่อป้องกันน้ำฝนหรือน้ำค้าง ใช้เวลาตากประมาณ 7 -10 วัน เมล็ดจะมีความชื้นประมาณ 13 %

เมล็ดกาแฟสุกแดง เข้าเครื่องขยี้เปลือกออกแล้ว นำไปตากจนแห้งก็จะได้กาแฟกะลา เก็บบรรจุไว้จำหน่าย

การบรรจุ (Packing) เมล็ดกาแฟที่ได้ควรเก็บไว้ในรูปของกาแฟกะลา (Parchment Coffee) เพราะจะสามารถรักษาเนื้อกาแฟและป้องกันความชื้นกาแฟได้ดี ควรบรรจุในกระสอบป่านใหม่ ในปัจจุบันจะบรรจุกระสอบพลาสติ๊กตาข่ายโปร่ง ระบายอากาศได้ดี และ เก็บในโรงเก็บที่มีอากาศถ่ายเท ได้สะดวก ไม่อับชื้น หรือมีกลิ่นเหม็น กาแฟที่จะนำไปแปรนรูปควรเก็บใว้ไม่น้อยกว่า 6-12 เดือนกาแฟกะลาจะเก็บไว้ได้นานนับปี และก่อนที่จะนำไปใช้ ก็เอาออกมาผึ่งแดดอีกครั้ง เพื่อนำไปเข้าเครื่องสีกาแฟกะลา ให้ออกมาเป็นสารกาแฟ

การสีกาแฟกะลา (Hulling] กาแฟกะลาที่จะนำไปจำหน่ายควรจะทำการสีเพื่อเอากะลาออกด้วยเครื่องสีกะลา จะได้สารกาแฟ (Green Coffee) ที่มีลักษณะผิวสีเขียวอมฟ้า

ประวัติกาแฟโลก


กาแฟถูกค้นพบประมาณ ค . ศ .850 ปี ก่อนคริสศักราช ชาวแอฟริกาพื้นเมืองใช้กาแฟเป็นอาหารมานานแล้ว สันนิฐานว่ามนุษย์สมัยโบราณ อาจเรียนรู้จากการสังเกตสัตว์ว่ากินอะไรและทดลองกินพบว่า ผลกาแฟสุกมีรสหวานเป็นที่ชื่นชอบของนกและสัตว์ต่างๆ ในช่วงแรกๆ รับประทานผลสุก ต่อมานำผลสุกมาทำไวน์ เรียกว่า ควาฮ์วาฮ์ (qahwah) เมื่อลองเคี้ยวเมล็ดกาแฟ จะเกิดมีความรู้สึกว่าสบายหายเหน็ดเหนื่อยจากอากาศร้อนหรือการเดินทางไกล เพราะกาแฟมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นร่างกาย ทำให้กาแฟได้เริ่มเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ต่อมามีการพัฒนานำเมล็ดกาแฟมาป่นผสมไขมันสัตว์ปั้นเป็นก้อนไว้กินเป็นอาหารติดตัวในการเดินทางชาวพื้นเมืองบางเผ่าในแอฟริกา ใช้กาแฟเซ่นไหว้พระเจ้า และผีสางที่นับถือ ในพิธีฉลองสาบานพี่น้องร่วมสายโลหิต มีการแกะเมล็ดกาแฟจากผลกาแฟสองเมล็ดแบ่งให้พี่น้องคนละหนึ่งเมล็ด เพื่อนำไปจุ่มหรือทาด้วยโลหิตของตนและมอบให้พี่น้องแต่ละคนไปเคี้ยวรับประทาน กาแฟเป็นของขวัญที่มอบให้แก่แขกที่มาเยี่ยมเคี้ยวก่อนที่จะเลี้ยงอาหารเป็นต้น ต่อมากาแฟจึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องดื่มในระยะแรกใช้เมล็ดกาแฟใส่ในน้ำต้มบนกองไฟ จนน้ำกาแฟออกเป็นสีเหลืองกาแฟได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ มีการตากเมล็ดกาแฟเพื่อให้เก็บไว้ได้นานขึ้น มีการคั่วบด แช่ ต้ม กาแฟ โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ครกบด กระทะ เครื่องต้ม กาแฟ ฯลฯ เพื่ออำนวยความสะดวกยิ่งขึ้น
ในราว ค . ศ .1000 การค้าทาสกำลังเฟื่องฟู พ่อค้าทาสนำทาสนิโกรจากทางใต้ของซูดาน ไปประเทศซาอุดิอาระเบีย พ่อค้าทาสและพวกทาสได้นำผลและเมล็ดกาแฟติดตัวไปด้วย การปลูกกาแฟของชาวอาหรับถูกเก็บเป็นความลับและเมล็ดกาแฟเป็นสิ่งหวงห้าม เมล็ดการแฟดิบนำออกนอกประเทศ ยกเว้นต้องต้มหรือลวกในน้ำร้อน แต่เมล็ดกาแฟยังถูกลักลอบนำออกไปแพร่กระจายจากเมกกะโดยผู้แสวงบุญที่กลับจากเมกกะไปยังประเทศมุสลิมของตนเองทั่วโลกราวศตวรรษที่ 9 กาแฟเป็นพืชที่รู้จักกันดีในแถบตะวันออกกลาง จนถึงต้นศตวรรษที่ 14 ชาวอาหรับเริ่มการปลูกกาแฟเป็นการค้า บริเวณคาบสมุทรอาระเบียใกล้เมืองท่ามอคค่า (Mocha) ต่อมากาแฟแถบนี้กลายเป็นสายพันธุ์กาแฟที่มีชื่อเสียง ศตวรรษที่ 15 กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในประเทศตะวันออกกลางและดินแดนอาหรับ จากอียิปต์ เมกกะและซีเรียแล้วเข้าสู่เมืองคอนสแตนติโนเบล ประเทศตุรกี ในสมัยออตโนมัน ราวปี ค . ศ .1453 ในช่วงแรก ชาวเติร์กดื่มกาแฟที่บ้านและใช้ต้อนรับอาคันตุกะผู้มาเยี่ยมเยียนจนในปี ค . ศ .1554 ร้านกาแฟร้านแรกในโลกเกิดขึ้นที่นครคอนสแตนติโนเปิล ปัจจุบันคือเมืองอิสตันบูล โดยชาวซีเรีย 2 คน มีการเสริฟกาแฟในร้านที่มีโซฟาที่สวยงามสะดวกสบาย เป็นแหล่งที่พบปะพูดคุยของคนทั้งกวี นักนิยมศิลปและวรรณกรรมนักวิทยาศาสตร์ นักการเมือง ฯลฯ ร้านกาแฟได้รับความนิยม มีการขยายร้านกาแฟมากขึ้น จนถือได้ว่าเป็นร้านกาแฟต้นแบบในเมืองต่างๆ ของยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 17-18 จนถึงปัจจุบัน